ตับเป็นอวัยวะที่อยู่บริเวณช่องท้องทางด้านขวาบน มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม ถูกบดบังอยู่ใต้ชายโครง ตับเป็นอวัยวะที่หนักราว 1.2 กิโลกรัม ตับมีอันเดียว บางครั้งแพทย์มักจะบอกเราให้เข้าใจง่ายๆ ว่ามีตับกลีบขวาขนาดใหญ่และกลีบซ้ายขนาดเล็ก ตับทำหน้าที่เป็นแหล่งผลิตและสะสมพลังงาน กำจัดของเสียออกจากร่างกาย โดยเมื่อร่างกายย่อยและดูดซึมอาหารจากกระเพาะอาหารและลำไส้ สารอาหารและวิตามินล้วนถูกปรับเปลี่ยนดัดแปลงไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับร่างกาย และสะสมเป็นพลังงานเพื่อใช้ในคราวจำเป็น รวมทั้ง กำจัดสารพิษออกจากร่างกาย และผลิตน้ำย่อย เรียกว่าน้ำดี เพื่อย่อยสารอาหารจำพวกไขมันผ่านทางท่อน้ำดี เพื่อย่อยไขมันในลำไส้
การรักษาผู้ป่วยโรคตับที่มีอาการของโรครุนแรงระยะท้าย ตับมีการทำงานน้อยลงมากและอาจเสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น ในผู้ป่วยที่มีภาวะตับวายเฉียบพลัน ตับแข็ง และมะเร็งตับที่มีจำนวนก้อนมะเร็งตับไม่เกินสามก้อนและไม่อยู่ในระยะแพร่กระจาย การปลูกถ่ายตับในระยะ 1-3 ปีมีโอกาสรอดชีวิตประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป และในจำนวนผู้ที่เสียชีวิตหลังการปลูกถ่ายตับราว 20 เปอร์เซ็นต์ เสียชีวิตด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น เกิดภาวะต้านตับ และอาจเกิดจากโรคปกติของคนทั่วไปได้
แม้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการของโรคตับมาก และมีข้อบ่งชี้ในการเปลี่ยนตับก็ตาม สิ่งที่แพทย์จะต้องประเมินอีกด้านคือ มีข้อห้ามในการทำการเปลี่ยนตับหรือไม่ เพราะถ้าทำไป ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตหลังการเปลี่ยนตับจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หรือมะเร็งตับมีการกระจายไปส่วนต่างๆ ของร่างกายในเวลาไม่นานหลังการเปลี่ยนตับ
ตับ เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในช่องท้อง อยู่บริเวณชายโครงด้านขวาเลยมาถึงลิ้นปี่ หนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม หน้าที่ของตับมีมากมายหลายอย่าง ดังนี้
เป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยตับวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่าหากให้การรักษาด้วยวิธีทั่วไปจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือน ผู้ป่วยโรคตับแข็ง ตับอักเสบเรื้อรังระยะสุดท้าย หรือมะเร็งตับ การปลูกถ่ายตับจะได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีความพิการของตับมาแต่กำเนิด ตับใหม่ที่ได้รับการปลูกถ่าย สามารถทำหน้าที่ได้ดีในปีแรกของการผ่าตัดมีจำนวนถึงร้อยละ 75 และในเด็กจะมีจำนวนถึงร้อยละ 80
ตับใหม่ได้มาจากผู้ที่เสียชีวิต โดยภาวะสมองตาย ซึ่งญาติผู้เสียชีวิตได้เห็นประโยชน์ และยินยอมบริจาค ปัจจุบันอัตราการบริจาคอวัยวะในประเทศเรายังมีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับความต้องการของผู้ป่วยระยะสุดท้ายเหล่านี้ ประมาณว่ามีผู้ป่วยโรคตับระยะสุดท้าย ที่ต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนตับ จำนวนหลายพันคนต่อปี ในขณะที่ผู้บริจาคอวัยวะมีไม่ถึงร้อยคนต่อปี
ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย ©2019 All rights reserved.
อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ชั้น 5
ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
เงื่อนไขและข้อตกลง
และ
นโยบายความเป็นส่วนตัว